Disco Buddha

 

A photographic exhibition by

Kamthorn Paowattanasuk

 

1 September – 28 October 2012

 

If you’d like to know how and what Thai Buddhist temples really contribute to the life of the common man, no answer can be more enlightening than this collection of digitally-altered surrealist pop photographs, the latest work by Kamthorn Paowattanasuk.  Eighteen folk art icons of celebrated Thai monks, crudely fashioned from cement, their imperfections covered up by gold paint to make them worship-worthy, are placed on various backdrops: from your basic angels and fairies, heaven-hell, to ATM machines and monk’s begging bowls, in order to facilitate pleas for divine help with contemporary lusts and desires—for wealth, job promotion, love and sexual charisma.

Hallucinatory and mesmerising, hysterical and incisive, the visions of ‘Disco Buddha’ are a comical summation of rising public criticisms of Thai Buddhist monasteries today. They are the follow-up act to ‘Holy Alloy, Pearly Gates’ of 2008, Kamthorn’s photographs of the real environs, bling decorations and atmosphere of real temples on Bangkok’s outskirts.

 

เกจิทองคำ’

นิทรรศการภาพถ่ายศักดิ์สิทธิ์ โดย

กำธร เภาวัฒนาสุข

1 กันยายน – 28 ตุลาคม 2555

 

หากต้องการรู้ว่าวัดไทยให้อะไรกับชาวบ้าน เกจิทองคำ’ (Disco Buddha) ภาพถ่ายดิจิตัลตัดแต่ง เน้นสีสันฉูดฉาดเชิงเหนือจริง (surrealist pop) ผลงานล่าสุดของ กำธร เภาวัฒนาสุข คือคำตอบอันแจ่มชัดที่สุด, ภาพ ๑๘ เกจิอาจารย์ดังของไทย ปั้นด้วยซีเมนต์ฝีมือหยาบๆ บิดๆ เบี้ยวๆ อย่างสไตล์ชาวบ้าน แต่อาศัยทาสีทอง กลบให้ดูอร่ามดูดี สมค่ากับการเป็นรูปเคารพศักดิ์สิทธิ์เพื่อบูชากราบไหว้ โดยมีฉากหลังตั้งแต่ระดับพื้นๆ พวกเทวดา-นางฟ้า, สวรรค์-นรก จนถึงมีตู้เอทีเอ็ม และพาชนะบาตรเพื่อการอธิฐานให้กิเลสตัณหาร่วมสมัย ได้สมใจปรารถนา ตั้งแต่ ขอให้ร่ำรวย, เลื่อนชั้น-เลื่อนต่ำแหน่ง, แฟนรัก-แฟนหลง จนถึง ได้กิ๊ก

เกจิทองคำ’ หรือ Disco Buddha ของ กำธร เภาวัฒนาสุข นับเป็นภาพถ่ายที่ชวนให้มึนเมา ประสาท หลอนไม่เบาราวกับถูกเวทมนต์สะกด หรือได้กินเห็ดเมาเข้าไป อาจกล่าวได้ว่านี่คือบทสรุปคำวิจารณ์บทบาทวัด ไทยวันนี้ได้อย่างชวนหัวเราะไม่หยุด ทั้งแหลมคมและถึงรากถึงโคน อันเป็นผลงานสืบเนื่องมาจากชุดแรกของเขา ‘ศักดิ์สิทธิ์อัลลอย’ (Holy Alloy, Pearly Gates) เมื่อปี ๒๕๕๑ ที่เน้นการถ่ายภาพสิ่งแวดล้อม การตกแต่ง และบรรยากาศในวัดจริงๆ ที่เขาไปสำรวจเจอ

…………………………..