A mini-retrospective of Thailand’s forgotten photography master
Buddhadasa Bhiku
4 May – 30 June 2013
By 1972, Buddhadasa Bhiku had already attained the age of 66 and the stature of a famous enlightened monk; he struggled to reject all attempts to turn his portraits into icons of superstitious worship, which at that time (as now) was all the craze. He wanted people to realise the essence of Buddhism; not to cling to the egoism of ‘I’ and ‘Mine’. When he finally saw that his fight against the holy picture craze was futile, Buddhadasa embarked on a series of self-portraits, using the environs of Suan Mokh Monastery (Surajthani) as location, with all its scattered symbolic props: a statue of Bodhisattava Sri Vijaya, lotus flowers, mounds of dirt, a flat rock, even monastery pets. At times he’s posing alone, employing tricks in the monastery darkroom to compose double and triple prints to create a dharma riddle, inviting the viewer to interpret with wisdom. Each picture was accompanied by a dharma-teaching poem that he’d written for it. The series is entitled ‘Dharma Text Next to Image’.
These 423 Buddhist poems and photographs clearly reveal Than Buddhadasa’s understanding of art and technology, particularly the potential power of photography to serve as a medium for spreading dharma—a visionary idea far ahead of his time, when the Thai art world still had no inkling of such terms as ‘Conceptual Art’ and ‘Conceptual Photography’.
Kathmandu Photo Gallery, with cooperation of Buddhadasa Indapanno Archives, is honoured to present the photography of Buddhadasa Bhiku (1906 – 1993): thirty images printed and enlarged from the original artwork for ‘Dharma Text Next to Image’, to celebrate a photographic master, as the sixth edition of our ‘Seeking Forgotten Thai Photographers’ project to search for master artists otherwise neglected by Thai photographic history.
นิทรรศการภาพถ่ายฝีมือชั้นครู
พุทธทาสภิกขุ
4 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2556
ปี 2515 พุทธทาสภิกขุมีอายุได้ 66 ท่านเป็นอริยสงฆ์ผู้มีชื่อเสียง แต่ท่านยังคงปฏิเสธการเอารูปตัวท่านไปเคารพกราบไหว้บูชาในแบบพระขลัง พระศักดิ์สิทธิ์ มีอิทธิฤทธิ์เวทมนต์ ซึ่งกำลังเป็นแฟชั่นในเวลานั้น เพราะท่านมุ่งเน้นให้คนเข้าใจแก่นธรรมของพระพุทธศาสนา ไม่ให้ยึดมั่น ‘ตัวกู-ของกู’ เมื่อเห็นว่าไม่อาจทานกระแสรูปเคารพได้ ท่านพุทธทาสจึงเริ่มโครงการถ่ายภาพตัวเอง โดยอาศัยฉากสถานที่ภายในบริเวณวัดสวนโมกข์ฯ (สุราษฏร์ฯ) และใช้สัญลักษณ์ที่มีอยู่โดยรอบ เช่น รูปปั้นพระโพธิสัตว์ศรีวิชัย, ดอกบัว, กองดิน, แท่นหิน แม้แต่สัตว์เลี้ยงในวัด มาเป็นองค์ประกอบภาพ บางครั้งก็ใช้ตัวท่านเองล้วนๆแสดงแบบ โดยอาศัยเทคนิคการอัดภาพในห้องมืดในวัด ทำให้เป็นภาพฝาแฝดสองและแฝดสาม (Double or triple prints) เพื่อเกิดเป็นภาพ “ปริศนาธรรม”ชวนให้ผู้ชมภาพต้องคิด ต้องใช้ปัญญาตีความ โดยจะมีบทกลอนธรรมะของท่านแต่งประกอบ ซึ่งผลงานชุดนี้มีชื่อว่า “บทพระธรรมประจำภาพ”
ผลงานภาพถ่ายและบทกลอนธรรมะจำนวน 423 บท สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจของท่านพุทธทาสต่อศิลปะและเทคโนโลยี โดยเฉพาะ ‘พลังของภาพถ่าย’ เพื่อรับใช้เผยแผ่ธรรมะ และอาจถือได้ว่านี่คือความคิดที่มาก่อนกาลเวลา ในยุคที่วงการศิลปะไทยยังไม่รู้จักคำว่า “Conceptual art” หรือ “Conceptual photography”
คัดมันดู โฟโต้ แกลเลอรี่ โดยความร่วมมือกับหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ มีความภูมิใจที่จะเสนอผลงานภาพถ่ายของ พุทธทาสภิกขุ (2449 – 2536) ที่อัดขยายจากต้นฉบับหนังสือ “บทพระธรรมประจำภาพ” จำนวน 30 ชิ้น เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติให้แก่ “ช่างภาพชั้นครู” ซึ่งจัดเป็นอันดับที่ 6 ในโครงการของแกลเลอรี่ “ค้นหาครูถ่ายภาพไทย” (Seeking Forgotten Thai Photographers) ที่ประวัติศาสตร์ภาพถ่ายไทยยังมิได้บันทึก