A Trace of Mortality
A photographic exhibition by
Eiffel Chong
9 September – 28 October 2017
(Opening party on Sat 9 Sept at 6.30 – 9.00 pm)
If any photographer could claim to capture souls, Eiffel Chong is the man. He doesn’t resort to trick the eye by having someone run pass the camera to create a moving blur. Quite the reverse; everything he photographs, foreground and background, appears sharp.
‘A Trace of Mortality’ is the first solo exhibition in Thailand by Malaysia’s leading contemporary photographer Eiffel Chong. Consisting of 15 pieces from 15 years of creative production, between 2001 & 2014, the show is a vivid taste of the artist’s disquieting ability to fill the world with invisible watching eyes.
In the black & white series, ‘Haunted School’ (2001 -2002), an old tree like a giant hand seems to be holding the world—a school building at night, empty of students, more like a haunted house than a school.
In the bright clean series, ‘Institutional Care’ (2005 – 2007), a newborn child lies by itself in a basin under ultraviolet lamplight. His simple angle & composition suggest to us that the baby is being watched by someone or something from a distance. In another photo, a fresh new bouquet of flowers has been left on the floor outside a hospital room. Whose flowers are they? In ‘Seascape’ (2014), at the Cambodian seaside, a giant painted plaster crab with the legend “Welcome to Kep” seems to clack its claws in homage to the noon sun; yet the sea, normally full of waves, is smooth and unmoving.
Eiffel Chong: “I’m interested in how photography can translate a particular time and space, memories and thoughts into something permanent.”
Curator Manit Sriwanichpoom: “Eiffel Chong’s extreme long exposures bring impressive results. It is as if the artist is using his camera to absorb everything before it, including things normally invisible to the human eye—things which become more visible to us the longer we gaze as his images.”
Eiffel Chong, 40, graduated with an MA in International Contemporary Art and Design Practice from the University of East London and a BA (Hons) in Photography from London College of Printing. Besides his production of photographic work, Chong is highly engaged with the Malaysian photographic community; taking on the role of mentor for the Goethe Institut Malaysia/Nikon Shooting Stars programme and Exposure+ Workshop. In addition, he has been appointed to the panel of judges for the Kuala Lumpur Photography Awards 2016 & 2013 and 2017 Annual Nikon Photo Awards, Malaysia.
ร่องรอยของความไม่จีรัง
นิทรรศการภาพถ่ายโดย
ไอเฟิล ชอง
9 กันยายน – 28 ตุลาคม 2560
(เปิดนิทรรศการ เสาร์ 9 กันยา เวลา 18.30 – 21.00น.)
หากจะมีช่างภาพคนไหนถ่ายภาพวิญญาณได้จริง ไอเฟิล ชอง น่าจะเป็นช่างภาพคนดังกล่าว เขาไม่ได้ใช้อุบายหลอกผู้ชมโดยให้มีคนวิ่งผ่านหน้ากล้องไวๆ ให้ดูไหวๆ เบลอร์ๆ ตรงกันข้าม ทุกสิ่งที่เขาถ่ายนั้นคมชัดตั้งแต่หน้าจดหลัง
‘ร่องรอยของความไม่จีรัง’ นับเป็นการแสดงเดี่ยวครั้งแรกในไทยของ ไอเฟิล ชอง, วัย 40, ศิลปินภาพถ่ายร่วมสมัยแนวหน้าชาวมาเลเซียผลงาน 15 ชิ้น จาก 15 ปีของการสร้างสรรค์ของศิลปิน ระหว่างปี 2544 จนถึงปี 2557 ได้สื่อสะท้อนบุคลิกและลักษณะเด่นของเทคนิคและมุมมองการถ่ายภาพของศิลปิน ที่สร้างความรู้สึกของการจับจ้องมองและสิ่งรบกวนจิตใจ
ภาพขาว-ดำชุด ‘โรงเรียนหลอน’(Haunted School 2001-2002) รูปต้นไม้ยักษ์หน้าโรงเรียนที่มีลำต้นเหมือนมือยักษ์กำลังแบกโลก และตึกเรียนยามค่ำคืน ปลอดนักเรียน ที่ดูเหมือนบ้านผีสิงมากกว่าโรงเรียน, ภาพสีสดใสสะอาดตาชุด ‘สถานพยาบาล’ (Institutionalised Care, 2005 -2007) จะเห็นเด็กทารกแรกเกิดในถาดนอนถูกทิ้งให้ตากแสงอุลตร้าไวโอเลตอยู่ลำพัง ด้วยมุมกล้องและการจัดองค์ประกอบแบบเรียบง่าย ทำให้เรารู้สึกว่าเด็กคนนี้กำลังถูกสายตาจากบางสิ่งจ้องมองเขาอยู่ห่างๆ ขณะที่ในอีกภาพหนึ่งมีช่อดอกไม้สดใหม่ถูกวางกับพื้นอยู่หน้าห้องผู้ป่วย แล้วใครคือเจ้าของ, แม้แต่ชุด ‘ทิวทัศน์ทะเล’(Seascape 2014) ภาพสีรูปปั้นปูยักษ์กลางทะเล ประชาสัมพันธ์คำว่า ‘ขอต้อนรับสู่เคบ’ (Welcome to KEP) แหล่งท่องเที่ยวชายทะเลของเขมร ไอเฟิลยังสามารถทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าปูซีเมนต์ระบายสีตัวนี้ ขยับก้ามรับแสงแดดยามเที่ยงวัน ขณะที่น้ำทะเลซึ่งควรเต็มไปด้วยระลอกคลื่น กลับราบเรียบสงบนิ่งไม่ไหวติ่งแต่อย่างใด
ไอเฟิล ชอง: “ผมสนใจที่สื่อภาพถ่ายสามารถแปลงสภาพทั้งห้วงเวลาและพื้นที่ ทั้งความทรงจำและความนึกคิดให้กลายเป็นสิ่งถาวร”
“เทคนิคการถ่ายด้วยเวลาที่ช้ามากๆ ของไอเฟิล ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าประทับใจ เหมือนศิลปินพยายามจะดูดซับเอาทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่หน้ากล้องเอาไว้ รวมทั้งสิ่งที่ตาปกติของเรามองไม่เห็นด้วย” มานิต ศรีวานิชภูมิ ภัณฑารักษ์นิทรรศการกล่าวถึงความพิเศษของผลงานของไอเฟิล ชอง “ดังนั้น ผู้ชมจึงควรใช้เวลาในการมองภาพของเขานานๆ เพื่อที่จะรู้สึกได้ถึงสิ่งที่ตามองไม่เห็น”
ไอเฟิล ชอง จบปริญญาโทศิลปะและการออกแบบร่วมสมัยจากมหาวิทยาลัย อีสต์ลอนดอน และปริญญาตรีภาพถ่ายจากวิทยาลัยลอนดอนแห่งการพิมพ์ (MA in International Contemporary Art and Design Practice from the University of East London and a BA (Hons) in Photography from London College of Printing.) ปัจจุบันนอกจากเป็นอาจารย์พิเศษสอนการถ่ายแล้ว เขายังเป็นกรรมการตัดสินรางวัลภาพถ่ายให้กับหลายองค์กรของมาเลเซีย อาทิ นิคอนโฟโต้อะวอร์ด (Annual Nikon Photo Awards, Malaysia) เป็นต้น