Kathmandu Photo Gallery

proudly presents

 

Lost

 

A photographic exhibition by 

Manit Sriwanichpoom

11 July – 26 September 2020

 

This photographic series was born from an accidental error during an attempt to scan and digitize old glass negatives from 1964 – 1968 taken by Liang Ewe (1911 – 1992), photographer & owner of a photographic studio in Phuket, Thailand. Ideally, the modern digital scanner would accurately transfer historical data from the analog to the digital format; we honestly believe that the resulting data would be correct & match exactly the original source. In reality, the digital format can be corrupted, distorted & manipulated at any stage of the process: scanning, transferring, transmitting, viewing & printing. Sudden gaps of information in the image files occurred at random on Liang Ewe’s portraits, neglecting to convey certain bodily parts: the eyes, the mouth and sometimes the whole face is missing, creating the sense that bits of these people are trapped on another dimension of space and time. Like images from a horror movie, a face without a mouth has no eyes to gaze out from, another face has eyes but no mouth with which to utter a sound.

Ironically, although we can obtain perfect digitally-scanned images of them, we’ll never know the identities and the tales of the people in the photographs, since the studio manager never kept records of his sitters: their names, their ages, where they’re from and what they did. They were just customers. We know what they look like but the faces are unnamed.

In a country like Thailand, history is of kings and rulers of men. We tend not to promote or encourage the writing of the history of commoners, as if their stories are meaningless & worthless to remember.  The discovery of Liang Ewe’s negatives is the rediscovery of a past that has survived imbued within 2-dimensional glass plates. In the 19thcentury when photography was invented, some viewed it with the superstitious fear that their soul would be stolen, lost, trapped by the camera within the frame of the photograph forever. The series ‘Lost’ (2015) confirms that what photography records becomes the past the instant the camera shutters close. We still know nothing about these people, lost in the digital twilight zone.

 

Photo-artist Manit Sriwanichpoomhas been creating and exhibiting work of Thai contemporary art for over 30 years. His work has been widely exhibited both in Thailand and internationally, forming part of many of the world’s important museum and private collections.

 

 

 

 

คัดมันดู โฟโต้ แกลเลอรี่

ภูมิใจเสนอ

 

ติดค้าง

นิทรรศการภาพถ่ายโดย

มานิต ศรีวานิชภูมิ

 

11 กรกฎาคม – 26 กันยายน 2563

 

ผลงานชุดนี้เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุของความพยายามสแกนภาพฟิล์มกระจกภาพถ่ายเก่าปี 2507 – 2511 ของเลี่ยงอิ้ว(Liang Ewe, 1911 – 1992) เจ้าของร้านถ่ายรูป“เลี่ยงอิ้วฉายาลักษณ์”ภูเก็ต และนี่คือผลงานของความพยายามจะจัดการกับข้อมูลประวัติศาสตร์ภาพถ่ายจากยุคอนาล็อกอดีตมาสู่ยุคดิจิตอลปัจจุบัน  โดยการใช้สแกนเนอร์เครื่องมือสมัยใหม่ที่มนุษย์เชื่อว่ามีความเที่ยงตรงในการทำสำเนาให้มีคุณภาพเท่าต้นฉบับ  แต่เอาเข้าจริงมันยังคงมีปัญหา  มีความคลาดเคลื่อน  ไม่สมบูรณ์อยู่ดี  การขาดหายไปของข้อมูลดิจิตอลบางส่วนกลับทำให้ภาพถ่ายจากอดีตดูลึกลับ  เข้าไม่ถึง บางครั้งทำให้บุคคลในภาพดูเสมือน ติดค้าง” อยู่ในโลกดิจิตอล เหมือนภาพจากหนังสยองขวัญ (horror film)ยุคใหม่ ที่ดูหลอนหลอน  น่ากลัว บางภาพใบหน้ามีให้เห็นเฉพาะปากที่ไร้ดวงตา บางภาพเห็นแต่ดวงตาที่จ้องมองแต่ไร้ปากที่จะส่งเสียงพูดคุย

ในแง่หนึ่ง แม้ว่าจะได้ไฟล์ภาพสแกนที่สมบูรณ์ หากแต่ว่าเรากลับไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับบุคคลในภาพเลย  เพราะร้านถ่ายรูปจะบันทึกแต่ “อัตลักษณ์”รูปร่างหน้าตาของผู้เป็นแบบ  แต่ไม่บันทึก “นามลักษณ์”ชื่อเสียงเรียงนามของบุคคลเหล่านั้นซึ่งเป็นเพียงลูกค้า เราอาจได้ข้อมูลลักษณะบุคคลและการแต่งกายครบถ้วน  แต่เราจะไม่ได้เรื่องราวของพวกเขาเลย  เช่น ชื่ออะไร  อายุเท่าไหร่  บ้านอยู่ไหน ทำงานอะไร  เป็นโสดหรือแต่งงาน เป็นต้น

ในประเทศที่ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของเจ้า  ของบุคคลสำคัญเท่านั้น เราจึงไม่ส่งเสริมการจดบันทึกประวัติของคนธรรมดาสามัญ  เรื่องราวของพวกเขาไม่มีความหมาย  และไม่มีค่าควรแก่การจดจำ  การค้นพบภาพถ่ายพวกเขา  จึงเปรียบเสมือนการพบร่องรอยหรือเงาอดีต  ที่ถูกรีดให้แบนเป็นสองมิติบนแผ่นกระจก  อย่างที่คนในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 19เมื่อมีการค้นพบภาพถ่ายใหม่ๆ เรียกว่า “ภาพถ่ายดูดวิญญาณ”   การติดค้างอยู่ในพื้นที่ดิจิตอลยิ่งตอกย้ำถึงความเชื่อเรื่องนี้  เรื่องที่ภาพถ่ายคือบันทึกแห่งอดีต  บันทึกของสิ่งที่ตายจากเราไป ณ วินาทีที่ชัตเตอร์ของกล้องปิดลง

 

มานิต ศรีวานิชภูมิ ศิลปินภาพถ่ายร่วมสมัยผู้สร้างสรรค์งานมายาวนานกว่า 30 ปี ผลงานของเขาได้รับการเผยแพร่ทั้งในและต่างประเทศ  และได้รับการสะสมอยู่ในพิพิธภัณฑ์สำคัญๆ ของโลก

 

………………………………..