A mini-retrospective of Thailand’s forgotten photography master
’Rong Wong-savun
4 June – 31 July 2011
Honoured as National Artist in Literature in 1995, ’Rong Wong-savun (1932 – 2009) began professional life as a photographer. In only ten years (1954 – 1964), ’Rong managed to stand out from his contemporaries with his unique perspective on the world, the same gift that later earned him the name of the ‘Eagle of the Literary Garden’ for his inventive use and mixing of Thai and English words.
His photographic series on the Rama I Bridge still looks completely fresh and new to us today. His experimental camera angles – very low shots taken from ground level, bravely tore up the books on composition rules of those times.
Kathmandu Photo Gallery is proud to present ’Rong Wong-savun, the second master in our ‘Seeking Forgotten Thai Photographers’ project. Many black and white photographs included here have never been on public view.
’รงค์ วงษ์สวรรค์
นิทรรศการภาพถ่ายฝีมือชั้นครู
4 มิถุนายน – 31 กรกฎาคม 2554
ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2538 ’รงค์ วงษ์สวรรค์ (2475 – 2552) เริ่มต้นอาชีพเป็นช่างภาพก่อนจะจบลงด้วยการเป็นนักเขียนชื่อดัง แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เพียงสิบปี ระหว่าง 2497 – 2507 ‘รงค์ สามารถแสดงให้เห็นความพิเศษในการมองโลกที่แตกต่างจากช่างภาพร่วมยุคเดียวกัน และความพิเศษชนิดเดียวกันนี้นี่เองที่ทำให้เขาได้รับสมญาว่า “พญาอินทรีแห่งสวนอักษร” นักคิดค้นประดิษฐ์ถ้อยคำและศัพท์แสงแปลกๆ ไทยผสมฝรั่งได้อย่างมีเอกลักษณ์
เช่นภาพชุด “สะพานพุทธฯ” เป็นภาพถ่ายที่ยังดูล้ำหน้าแม้จนถึงวันนี้ ด้วยมุมกล้องเชิงทดลอง วางต่ำระดับพื้นดิน ฉีกหลักการจัดองค์ประกอบภาพพื้นๆของยุคสมัยนั้นอย่างกล้าหาญ
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายรัฐมนตรีของไทย และอดีตเจ้าของนิตยสารการเมืองสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ที่ ‘รงค์เคยทำงานให้ ชมฝีมือเขาอย่างคมคายว่า “ไอ้ปุ๊ถ่ายรูปด้วยความคิดแบบฝรั่ง”
’รงค์ วงษ์สวรรค์ นับเป็นหนึ่งในโครงการ “ค้นหาครูถ่ายภาพไทย” (Seeking Forgotten Thai Photographers) ที่ คัดมันดู โฟโต้ แกลเลอรี่ มีความภูมิใจนำเสนอเป็นลำดับที่ 2 โดยภาพถ่ายขาว-ดำเหล่านี้ หลายภาพยังไม่เคยแสดงที่ไหนมาก่อนนับแต่วันที่ถูกบันทึกเอาไว้
…………..