The Nightmare Remains
A photographic exhibition by
Paisal Theerapongvisanuporn
17 August – 29 September 2013
Between 1977 and 1997, social surrealist Paisal Theerapongvisanuporn turned his attention to creative photography, transforming mundane objects from daily life into a symbolic language to vent his anxieties about Thai society at that time. Dolls were stuffed into cans and jars to speak of child prostitution. A golf ball painted in the national tri-colours is about to be hit off into space, from a golf course covered with cash. Above an empty red bucket, an ox skull, between its teeth a dry water tap. Spray-painted cartons of eggs in different colours, some with misshapen embryos inside their fragile shells that comment on the terrifying insubstantiality of the increasingly reliant on technology world. Gargantuan problems of national and transnational corporate usurpation of natural resources, greed, corruption, exploitation and oppression, that Paisal reflected in his photography almost thirty years ago, have not only remained, but flourished into the accepted norm.
Kathmandu Photo Gallery cordially invites you to explore Thai photography from the late 1980’s, as represented by Paisal Theerapongvisanuporn, a photo-artist at work before the advent of contemporary photography in the ensuing decade.
ฝันร้ายยังอยู่
นิทรรศการภาพถ่ายโดย
ไพศาล ธีรพงศ์วิษณุพร
17 สิงหาคม – 29 กันยายน 2556
ระหว่างปี 2520 – 2540 ไพศาล ธีรพงศ์วิษณุพร จิตรกรแนวเหนือจริงเพื่อสังคม (Social surrealism) หันมาสนใจสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยสื่อภาพถ่าย เขาเลือกสรรเอาสิ่งของรอบๆตัวที่หาได้ง่ายในชีวิตประจำวันมาสร้างเป็นสัญลักษณ์ เพื่อแทนความหมายและความรู้สึกที่เขามีต่อสภาพสังคมไทย ณ เวลานั้น เช่นเอาตุ๊กตาเด็กหญิงอัดใส่กระป๋องและขวดแก้วเพื่อสะท้อนปัญหาโสเภณีเด็ก, เอาลูกกอล์ฟทาสีธงชาติที่กำลังจะถูกตีออกจากสนามซึ่งปูเต็มด้วยใบธนบัตรเพื่อพูดถึงปัญหาการใช้เงินกว้านซื้อที่ดินจากชาวนาเพื่อทำสนามกอล์ฟของนายทุนท้องถิ่นและข้ามชาติ, เอากะโหลกวัวคาบก๊อกน้ำประปาที่ไม่มีน้ำไหลจะใส่ถัง เพื่อสะท้อนการแย่งชิงทรัพยากรน้ำ หรือการใช้ไข่สเปรย์สีต่างๆ โดยมีลูกไก่ตัวอ่อนนับสิบที่ดูไม่สมประกอบนอนตายโผล่ร่างให้เห็น เพื่อแทนโลกไฮเทคอันเปราะบางและน่ากลัวของปัจจุบัน ดูเหมือนปัญหาการกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ ความโลภ การคอร์รัปชั่น ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ไพศาลเคยสะท้อนไว้เมื่อเกือบ 30 ปีมาแล้ว ปัญหาเหล่านี้ยังคงอยู่แถมทวีความรุนแรงจนผู้คนชินชา เห็นว่าเป็นเรื่องปกติที่ยอมรับได้
คัดมันดู โฟโต้ แกลเลอรี่ เชิญชวนผู้ชมมาสำรวจภาพถ่ายไทยจากยุคทศวรรษที่ 2520 โดยมีผลงานของ ไพศาล ธีรพงศ์วิษณุพร เป็นหนึ่งในศิลปินภาพถ่ายยุคดังกล่าว ก่อนที่วงการนี้จะก้าวสู่ยุคภาพถ่ายร่วมสมัยในทศวรรษถัดมา
………………………..