Imprint of Spirit

 

A Photographic Exhibition by

Rabil Bunnag
8 July – 26 August 2017

[Opening party Sat 8 Jul from 6.30 – 9.00 pm]

 

After seeing this set of black & white photographs of the ancient ruined cities of Sukhothai, Si Satchanalai and Kamphaeng Phet as recorded by Rabil Bunnag in 1953, the question inevitably arises: “The magic of the ancient spiritual aura that once haunted these old sacred sites, where has it all gone? Why hasn’t it survived the process of modern restoration?”

In Rabil’s atmospheric images, the Buddha statues and pagodas are overgrown with creepers, evoking romantic adventures through mysterious mythic lands; with exquisite patience and meticulousness, he captured the optimum play of light and shadow to bring out their potent beauty.

“These photographs are most valuable for study, as they were taken before restoration, so any interested party could use them for comparison, to see how they differ from today’s reality…” So wrote Buddhadasa Bhikku in the foreword to the book ‘Three Old Cities of Siam’ (pub. Thai Wattana T Sawan Foundation for the Dhamma Dana Foundation, 1971), a compilation of this set of photographs, printed almost 20 years after the photos were made.

How fortunate for posterity that Rabil donated over 100 photographs from this series to Suan Mokkh Monastery in Chaiya, Surat Thani; now the Buddhadasa Indapanno Archives has brought them to Bangkok for preservation and distribution to the public.

 

Rabil Bunnag (born in Bangkok 1902 – 1999) finished his studies in Singapore at age 21 & returned home to work for the Botanical Division of the Forestry Department. This enabled him to travel extensively on forest inspection tours all over the country’s forests. Coming upon strange, beautiful flowers, he was inspired to photograph them for study, leading him deeper into photography. After 1937 Rabil left government service to set up the ‘R. Bunnag’ photography studio on Silom road. He later became a lecturer in Pictorial Photography at Bangkok Technical College. Before passing away at the age of 97, Rabil donated some 23,000 photographs of ancient sites and objects to the National Archive.

 

————————————————————————-

รอยประทับวิญญาณ

 

นิทรรศการภาพถ่ายโดย

ระบิล บุนนาค

 

8 กรกฎาคม – 26 สิงหาคม 2560

[เปิดนิทรรศการ เสาร์ 8 กรกฎา เวลา 18.30 – 21.00 น.]

 

หากใครได้เห็นภาพขาว-ดำชุด 3 เมืองเก่า: สุโขทัย  ศรีสัชนาลัย  และกำแพงเพชร  ที่บันทึกโดย ระบิล บุนนาค ในปี 2496 แล้ว  จะเกิดคำถามทันทีว่า  “ทำไมมนต์ขลังของจิตวิญญาณเก่าแก่ในโบราณสถานที่ศักดิ์เหล่านี้  จึงสูญหายไปกับการอนุรักษ์ของปัจจุบัน”

ไม่ว่าจะเป็นพระอจนะ วัดศรีชุม,  ปรางค์แบบขอม วัดพระพายหลวง  และวัดศรีสวาย ในสุโขทัย หรือ เจดีย์วัดช้างล้อม ศรีสัชนาลัย และพระพุทธรูปยืน  วัดสี่อิริยาบถ กำแพงเพชร  ล้วนปกคลุมด้วยเถาวัลย์รากไม้  เหมือนดินแดนลึกลับในเทพนิยายผจญภัยโรแมนติก   ซึ่งอาจารย์ระบิลสามารถเก็บบรรยากาศแบบนี้ไว้ครบในผลงานภาพถ่ายของท่าน  ด้วยความประณีตบรรจงเลือกจังหวะเวลาและองศาของดวงอาทิตย์   เพื่อให้ได้แสงแดดและเงาตกต้องตัวโบราณสถาน   เกิดเป็นความงดงามและประทับใจแก่ผู้พบเห็น

“เป็นภาพที่มีค่าสูงสุดในการศึกษา  เพราะถ่ายไว้ก่อนหน้าการบูรณะซ่อมแซม  ซึ่งผู้สนใจอาจทำการเทียบเคียงเห็นได้ว่า  ผิดจากที่กำลังเป็นอยู่อย่างไรในเวลานี้…”  ท่านพุทธทาสได้แสดงความเห็นนี้ไว้ในบทนำของหนังสือรวมผลงานภาพถ่ายชุดนี้ในปี 2514 หรือ เกือบ 20 ปี หลังการบันทึกภาพดังกล่าว

นับเป็นความโชคดีที่อาจารย์ระบิลได้มอบภาพถ่ายชุดโบราณสถาน  จำนวนกว่า 100 ชิ้น  ให้กับสวนโมกขพลาราม ไชยา  ในจำนวนนี้ 56 ชิ้น เป็นชุด 3 เมืองเก่า  ซึ่งบัดนี้ทางหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ  ได้นำขึ้นมายังกรุงเทพเพื่อการอนุรักษ์และเผยแพร่แก่สาธารณชนต่อไป

 

ระบิล บุนนาค  (2445 – 2542, กรุงเทพ)  จบการศึกษาจากสิงคโปร์เมื่ออายุ 21 และกลับมารับราชการอยู่กองรุกขชาติ  ทำให้มีโอกาสเดินทางขึ้นเขาลงห้วย  ตรวจป่าไม้ เก็บพันธุ์ไม้ ได้เห็นดอกไม้แปลก ๆ สวย ๆ  จึงเกิดความคิดว่าน่าจะถ่ายภาพเก็บไว้เพื่อการศึกษา  ทำให้ระบิลศึกษาการถ่ายภาพอย่างจริงจัง  กระทั่งประมาณช่วงหลังปี 2480 ระบิลออกจากราชการมาตั้งร้านถ่ายรูป ร.บุนนาค’ บนถนนสีลม  และเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาถ่ายภาพวิจิตร (Pictorial Photography) ณ วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ   ก่อนจะเสียชีวิตในวัย 97 ปี  อาจารย์ระบิลได้มอบภาพและฟิล์มขาวดำต้นฉบับรูปโบราณสถานและโบราณวัตถุ  จำนวน 23,000 ภาพ  ให้แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ  กรมศิลปากร

 

……………………………………